วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 19, 2549

วันที่ ชี้อุปนิสัยตามหลักเลขศาสตร์ (ท่านที่เกิดวันที่ 31)

คนเกิดวันที่ 31 นั้นโดยดวงชะตาบอกว่ามักจะพบอุปสรรคหรือโชคร้ายในตอนต้นแต่จะประสบความสำเร็จอย่างน่าชื่นชมยินดีในบั้นปลาย เพราะอิทธิพลของเลข 3 ซึ่งเป็นธาตุน้ำกับเลข 1 ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นธาตุไฟ เมื่อดวงชะตาประกอบด้วยน้ำกับไฟ ชีวิตจึงต้องมีทั้งร้อนและเย็น

ธรรมะบรรยายโดยท่านพระมหาอุดม อุตตโม

สาธุชนทั้งหลาย วันนี้อาตมภาพท่านพระมหาอุดม อุตตโม เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่ จะได้นำธรรมะบรรยายมาแสดงแก่ท่านทั้งหลาย ขอเจิญสดับฟังตามเจตนาเน้อ...........

อนุโมทนาบุญกุศลเจตนาศรัทธาเจ้าภาพกฐิน

2544 กฐินสามัคคีชลบุรี กรุงเทพ โดยคุณอนิรุธ นิลเทศ
2545 -
2546 กฐินสามัคคีกรุงเทพเชียงใหม่ โดย คุณพรทิพย์ ตั้งจิตลิขิตสกุล
2547 -
2548 กฐินสามัคคีศาลเจ้าปุงเก่าคงเชียงใหม่ โดยคุณวิบุลย์ โตวิวัฒน์และศรัทราทั่วไป
2549 กฐินสามัคคีกรุงเทพ - นครปฐม - ลำพูน โดยคณะปู่หมอชีวกโกมารภัต แม่แก้วนวลศรี อ.สมาน - คุณจุฑามาศ นวลศรี ร้อยเอกธวัชชัย รณเกษม คุณมานพ งามศิริ คุณอุดมทรัพย์ ไพบูรย์ พตต. นพดล ภิระประวัติ
2550 ยังว่างครับผม

ข่าวประชาสัมพันธ์การกุศล

ข่าวประชาสัมพันธ์ การกุศล
โครงการก่อสร้างถาวรวัตถุของวัดดอนแก้ว
2544 - 2545 ปรับปรุงวิหาร - ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณวัดดอนแก้วบางส่วน
2546 - 2548 ก่อสร้างกำแพง - แท่งน้ำ - หอไตร
2549 - 2551 หอระฆัง - กุฐิสงฆ์
2552 - 2556 ศาลาเอนกประสงฆ์ - พิพิธภัณท์พื้นบ้าน
2557 - 2567 พระเจดีย์
2568 - 2578 อุโบสถ
2579 - ทุนมูลนิธิวัดดอนแก้ว
โครงการปฎิบัติธรรมจัดตามวาระโอกาสสำคัญทุกกรณี บางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานกาลยุคสมัย
ผู้มีจิตศรัทรา สามารถร่วมทำบุญได้ ณ ที่วัดดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่
หรือ ร่วมบริจาค ได้ในบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาหนองหอย เลขที่บัญชี 5481096587 สอบถามรายละเอียด หมายเลข 053-428324
ขออนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้ด้วย

วันศุกร์, พฤศจิกายน 03, 2549

ประเพณียี่เป็งของวัดดอนแก้ว

ยามที่พระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าไปแล้ว ความมืดมิดก็เข้ามาปกคลุม แต่เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี ท้องฟ้าของเมืองเชียงใหม่กลับสว่างไสวอีกครั้งด้วย "โคมลอย" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณี "ยี่เป็ง" ที่มีชื่อเสียงของ จ. เชียงใหม่นั่นเอง ประเพณียี่เป็งนี้มีขึ้นเพื่อเป็นการปลดปล่อยความทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่างๆ ไปกับโคมลอยและกระทงที่เรียกว่า "ลอยโขมด" โดยในวันยี่เป็งซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี
จะมีการถวายข้าวมธุปายาสแด่พระพุทธเจ้า จากนั้นชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารมาถวายแด่พระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ เมื่อเสร็จแล้วชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารอีกสำรับหนึ่งมาทำบุญตักบาตร พอใกล้ค่ำชาวบ้านนำประทีบมาวัดเพื่อบูชาพระรัตนตรัยและฟังเทศน์ จากนั้นจึงเริ่มจุดโคมไฟ โคมลอยหรือลอยโขมด (ลอยกระทง) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการปลดปล่อยความทุกข์โศกหรือสิ่งไม่ดีต่างๆ ออกไป รวมทั้งยังถือเป็นการทำทานด้วย เพราะชาวบ้านนิยมแขวนสิ่งของ เงิน หรือข้อความที่ระบุว่าใครเก็บได้สามารถนำมาขึ้นรางวัลกับผู้ปล่อยโคม งานประเพณีลอยกระทงของ วัดดอนแก้ว อ.สารภี จ. เชียงใหม่ในปีนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2549 ณ บริเวณลานวัดดอนแก้ว โดยจะคึกคักมากที่สุดในคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง

วันพุธ, กันยายน 20, 2549

ปฏิรูปการปกครอง

วันที่ 19 กันยายน 2549 มีการปฏิรูปการปกครอง
โดยผู้นำเหล่าทัพ และกองตำรวจแห่งชาติ
นำโดยพลเอกสนธิ บุญรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

วันอาทิตย์, กันยายน 17, 2549

ความสุข


วันอาทิตย์ ที่ 17 กันยายน 2549 ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ 12 เหนือ
ถึงวันอาทิตย์ ทำจิตผ่องใส เชิญศรัทราไทย ตกใต้ออกเหนือ ร่วมฟังธรรมะ อย่าฝั้งคานเบื่อ เพราะเฮานั้นเจื้อคำสอนพุทธา อ่านเขียน เฮียนฮู้ จึ่งมาอู้จ๋า ฮื่หมู่ศรัทรา 10-20จาวบ้าน ได้ฟังธรรมะ เกิดโลกสงสาร ของพระครูบาลตีไหว้ ฟังธรรมะแล้ว จะม่วนสุขใจ๋ เป๋นหนตานไปนิพานไปหน้า เจิ่นเตอะปี่น้อง เจิ่นหมู่ศรัทรา ร่วมภาวนา ฟังธรรมเน้อเจ้า ฟั่งธรรมเน้อเจ้า
ความสุข.............
ความสุขคืออะไร อาจจะมีบางคนบางท่านถามว่า ความสุขคืออะไร อยู่ที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบของใครๆก็อาจจะไม่เหมือนกัน แตกต่างกันออกไปมันสุดแล้วแต่ละคนแต่ละท่านว่าจะคิดกันอย่างไรว่าความสุขที่ได้มานั้นมันเกิดมาจากอะไร เพราะทุกคนในโลกนี้ ไม่มีใครที่ไม่ต้องการความสุขดังนั้นความสุขจึงเป็นสิ่งปรารถนาของคนทุกคน บางท่านก็บอกว่าความสุขเกิดจากการมีเงิน บางคนก็บอกว่าการมีสามีภรรยาที่สวยงาม แต่บางคนก็บอกว่าความสุขที่ได้นั้นขอให้ลูกหลานเหลนเป็นคนดีเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่แค่นี้ก็เป็นสุขแล้วอย่างนี้เป็นต้น จะเห็นได้ว่าคำตอบที่ได้มีความแตกต่างกันออกไป ทุกคนมีเหตุมีผลเหมือนกันหมดสุดท้ายก็มุ่งไปที่ความสุขให้ตนเองมีความสุขจึงมีความแตกต่างของที่มาที่ไปกันและความสุขทางพระพุทธศาสนากับความสุขของชาวบ้านก็ไม่เหมือนกันความสุขของชาวบ้านก็ต้องการเงินทองข้าวของทีวีเครื่องใช้มีงานมีเงินใช้จ่ายเพื่อสร้างความสุขให้แก่ตัวเองและครอบครัว ส่วนความสุขของพระสงฆ์องค์เณรนั้นอยู่ที่การได้อบรมสั่งสอนเผยแพรพระพุทธศาสนา ความสุขของครูบาอาจารย์มีความสุขที่ได้สั่งสอนนักเรียนลูกศิษย์ลูกหาให้มีวิชาความรู้ ส่วนลูกศิษย์ก็มีความสุขที่ได้ความรู้จากครูบาอาจารย์ดังนี้เป็นต้น
วันนี้อาตมาจะได้นำเสนอให้ทุกคนมีความสุขตามอัตภาพของแต่ละคนแต่ละท่านทั้งนี้ทุกคนจะต้องเป็นผู้มีคุณธรรมใช้หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาคิดมาปฎิบัติจึงจะเกิดผลจะอาศัยการทำบุญใส่ซองต่างๆผ้าป่าหรือกฐินแล้วภาวนาให้ได้เงินได้ทองเป็น 10 ล้าน 20 ล้าน อันนี้ก็เป็นไปไม่ได้เป็นการหาความสุขเกินควรเขาเรียกว่า ค้ากำไรเกินควรทำบุญใส่ซอง 5 บาท 10 บาท จะมาหวังผลกำไร 10-20 ล้าน นั้นเป็นไปไม่ได้ความสุขอย่างนี้มีแต่ความกังวลถ้าไม่ได้ก็มีปัญหาเกิดความทุกข์แน่นอน อันความสุขจะเกิดก็ขึ้นอยู่กับบุญเก่าของแต่ละคน ต้องเป็นความสุขที่ไม่เบียดเบียนใครไม่ผิดครูไม่ผิดศิลธรรมผู้ใดหวังความสุขต้องมีคุณธรรมยึดมั่นไว้ อาตมาภาพขอยกคุณธรรม 4 ประการดังนี้คือ ประการที่ 1 อัตถิสุข คือสุขเกิดจากการมีทรัพย์อันว่าเงินทองของมีค่า ช้างม้าเมียรัก เป็นที่ปรารถนาของทุกคน บางคนก็ว่า Money is gos เงินคือพระเจ้า เงินตกใส่หิน หินอ้า ตกใส่หญ้าหญ้าตาย ตกใส่คนคนก็รับไว้เป็นเพื่อนอย่างนี้เป็นต้น ดังนั้น คนจึงวิ่งเต้นหาการหางานทำ อาบเหงื่อต่างน้ำเพราะมัวคิดว่าหากมีเงินมีทองจะมีคนนับหน้าถือตา นี่ก็ความสุขอีกแบบหนึ่ง บางคนหาทรัพย์มาในทางที่ทุจริต ผิดศิลผิดธรรม ความสุขนั้นก็เป็นความสุขชั่วครั้งชั่วคราว ถึงแม้จะได้มา 10 ล้าน 20 ล้าน คดโกงเขามา อยู่ที่ไหนก็ไม่มีความสุขมีความกังวลอยู่ร่ำไป สุขอีกแบบหนึ่งคือสุขจากการรู้จักใช้จ่ายทรัพย์ ในทางที่ถูกที่ควรหรือเรียกว่าโภคสุขคือความภาคภูมิใจเอิบอิ่มใจว่าตนได้ใช้จ่ายทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้นเลี้ยงตัวเลี้ยงครอบครัวคนรักและบำเพ็ญคุณประโยชน์ บางคนมีเงินก็ไม่อาจนำมาใช้ได้เพราะนำไปให้คนอื่นกู้ เงินของตัวเองแท้ๆกลับไม่ได้ใช้กลับไปให้คนอื่นใช้ อย่างนี้เป็นต้น เปรียบเหมือนกับมีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดอย่างนี้ไม่มีประโยชน์ ควรนำมาใช้บ้างตามสมควร รู้จักใช้จ่าย มีเหตุมีผลในการใช้จ่าย จึงจะเรียกว่าใช้เงินเป็น
มีพระอาวุโสที่เครพรูปหนึ่งกล่าวไว้นานมาแล้วว่า"คนมีเงินข้าไม่กลัว....ข้ากลัวคนใช้เงินไม่เป็น" คนมั่งมีแต่ใช้ชีวิตอย่างยาจกจะรับประทานอาหารที่อร่อยๆก็กลัวเงินหมด จะเอาไปทำบุญก็กลัวเงินหมด อย่างนี้เงินที่ได้มานั้นเก็บไว้ให้"แก้วมาลูน" คือคนที่จะมารับเอาหลังจากที่เราได้เสียชีวิตไปแล้ว คนเราเมื่อมีทรัพย์ถ้ารู้จักใช้จ่ายก็มีความสุขอยู่อีกข้อหนึ่งสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ "อนณสุข" เจ้าหนี้บางรายออกดอกร้อยละ 10-20 บาทให้ลูกน้องขับรถมอร์เตอร์ไซค์วนไปวนมาเพื่อเก็บเงินที่เขากู้ ไปทวงถามได้ก็ไม่ว่ากัน ถามทวงไม่ได้ทีนี้มีปัญหาต้องทำร้ายร่างกายเป็นศรัตรูกันเขาเรียกว่า เป็นมิตรเมื่อตอนกู้ เป็นศรัตรูเมื่อทวงถาม บางคนทวงแล้วทวงอีกก็ไม่ให้ ถามว่าจะว่าอย่างไร ก็เฉย อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ การกู้เงินก็มีหลายวิธีด้วยกัน กู้ตามบ้านทั่วไปและมีลูกน้องมาเก้บมาทวง การกู้ในสถาบันการเงิน ผ่านบัตรเครดิตทั้งหลายโดยที่ไม่ใช้เงินสดในการใช้จ่ายสะดวกสบาย จ่ายก่อนผ่อนทีหลัง เขาเรียกว่าเอาเงินในอนาคตมาใช้หรือยื่มเงินของตัวเองมาใช้นั่นเองแล้วมาทุกข์ใจที่หลัง ท่านสาธุชนทั้งหลายการเป็นหนี้เขา ไม่มีความสบายใจเลย กลับมีความทุกข์ ใจที่หลัง สาธชนทั้งหลายการเป็นหนี้เขา ไม่สบายใจเลยกลับมีความทุกข์ใจเสียมากกว่า แต่ในปัจจุบันการไม่เป็นหนี้บางครั้งก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามใครที่เป็นหนี้เป็นสินเขา ให้บริหารจัดการเรื่องรายรับรายจ่ายให้ลงตัวอย่าให้เสียเครดิตและจะได้มีความสบายใจกับการเป็นหนี้ แต่การไม่เป็นหนี้นั้นดีที่สุดนะโยม สุขสุดท้ายคือ สุขจากการประกอบการงานที่ปราศจาคโทษ "อนวัชชสุข" สุขจาการทำงานที่สุจริตเป็นการทำงานที่สะอาดไม่คดโกงใครเกิดความสบายใจเงินที่ได้มานั้นก็สะอาดบริสุทธิ์ตรงกันข้ามกับเงินที่ได้มาจากการทุจริตไม่มีความสบายทั้งกายและใจมัวกังวลว่าเขาจะจับได้ อันว่าเงินที่ได้มาจากหน้าที่การงานที่สุจริต 100 บาท กับเงินที่ได้มาจากการโกงเขามา 100 บาท ถึงแม้จะซื้อของได้เท่าเทียมกันแต่อนิสงผลบุญมันต่างกันมีแฝงบุญและบาป สร้างเนื้อนาบุญกับสร้างเนื้อนาบาปมันต่างกันและอย่างไหนจะดีกว่ากัน.กรรมใดใครก่อ เจ้ากรรมนายเวณก็ตามมาทวงถามตามล้างตามผลาญไม่ให้มีความสุข อันสุขที่ได้กล่าวมานั้นสุขสุดท้ายมีค่ามากกว่าสุขใดๆทั้งปวง
อาตมาได้บรรยายเรื่องความสุขไปแล้วนั้นสรุปสั้นๆง่ายๆคือ สุขเกิดจากการมีทรัพย์สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์สุขจากการไม่เป็นหนี้กับสุขเกิดจากการทำงานโดยสุจริต สุขอยู่ที่ใจนั้นดีแน่ ไม่สร้างหนี้ให้ตนเองดีไฉน สุขนั้นมั่นคงกว่าสิ่งใด สุขสดใสในใจชั่วนิรันดร์ สาธุชนทั้งหลายหวังว่าคงได้นำธรรมะบรรยายที่ให้ไว้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย ไชโยชัยยะ วาระดิถี ขอให้ทุกคนมี ความสุขทั่วหน้า ให้มีแต่โชค แสว่งหาอันใด สมหวังทั่วหน้า นอนดึกตื่นเช้า อย่านอนตื่นสาย หลับดีสบายเหมือนกันทั่วหน้า เหมือนกันทั่วหน้า สุขภาพดี ไร้โรคโรคา เหมือนกันเน้อเจ้า

จำเริญพร
ธรรมบรรยายโดยท่านพระมหาอุดม อุตตโม เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่

วันเสาร์, กันยายน 16, 2549

เชิญร่วมทำบุญกฐินวัดดอนแก้ว

วัดจะอยู่ได้ก็ด้วยความสามัคคี ในวันที่ 22 ตุลคม 2549 ทางวัดจะมีงานทอดกฐินจากเจ้าภาพ หลายๆศรัทรา ต่างร่วมแรงร่วมใจถวายปัจจัย เพื่อสมทบทุนสร้างกุฐิวัดดอนแก้ว......เชิญผู้มีจิตศรัทราทำบุญตามเจตนาเน้อ/ไม่ว่าจะป็นเจ้าภาพกระเบื้อง เสา หลอดไฟ ปูน ไม้ จะทำบุญเท่าไรก็ได้แล้วแต่จิตศรัทราของท่านเถอะ หากปัจจัยได้มาก ปีนี้คงสร้างเสร็จ หากว่าปัจจัยไม่พอก็คง รอไปอีกปี หรือสองปี ...ช่วยๆกันไปแล้วเสร็จเมื่อไรก็ได้ไม่รีบไม่ร้อน ...ใจเย็นๆ.อยากอยู่ของใหม่ก็ใจเย็นๆ..........ทุกวันนี้พระสามเณรก็พอจะอยู่ได้ .....มีพระรวมกัน 4 รูป....อยู่กันคนละทิศละทาง ............เมื่อสร้างกุฐิเสร็จก็คงอยู่กันไปเป็นสัดเป็นส่วน .........หอธรรมก็ปอหอธรรม...กุฐิก็ส่วนกุฐิ ไม่ปะปนกัน.....ทุกวันนี้ ...อยู่กันไป.............พระ.....สุนัขที่เลิ้ยงไว้อีก........4ตัว ........อยู่ปนกันไปไม่เป็นสัดส่วน .......อันจะไม่เลี้ยงมันก็สงสาร..........อีกอย่างเอาไว้เฝ้าวัดในยามที่ออกกิจนิมนต์............ดีกว่าบางคน.......นี่อาตมาไม่ได้ว่าใครนะ........แต่พูดให้ฟัง...........สุนัขก็มีจิตใจเหมือนกับคนนั่นแหละ...........สัตว์คน.....ไม่ต่างกันมีชีวิตจิตใจเหมือนกัน.รู้จักรักเจ้าของ..........และคงอีกไม่นาน.....ก็คงอยู่กันไปเป็นสัดเป็นส่วน..........ไม่ปะปนกัน.......เหมือนทุกวันนี้......ก็ด้วยแรงจิตศรัทราของท่านทั้งหลายที่จะร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งน้ำใจเดียวกัน........ทำบุญไปตามเจตนาหน้าบุญของแต่ละคนแต่ละท่านเถอะนะไม่ได้บังคบ.............ทำบุญมาก.ทำบุญน้อย.ก็ได้บุญเหมือนกัน.....ปัจจัยมาก..ก็เสร็จเร็จ......ปัจจัยน้อยก็เสร็จช้า...........ไม่เป็นไร.ไม่รีบไม่ร้อน............อาตมาขออวยพรให้ท่านทั้งหลายจงมีอายุวรรณะ สุขพละ มีความสุขทุกคนเน้อ.ขอจำเริญพร
พระมหาอุดม อุตตโม เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่

วันอังคาร, กันยายน 05, 2549

จงเชื่อในความรักแล้วท่านจะรอด

ในการดำเนินชีวิต หากเราเดินไปตามถนนแห่งความรัก สานสายใยให้เป็นหนึ่งเดียว ชีวิตก็จะพบแต่ความสุข ทั้งหน้าที่การงานและครอบครัว
คนเราเกิดมา มีเวลาอยู่ร่วมกันน้อยนัก ขณะที่อยู่ร่วมกัน จงใช้เวลาที่มีอยู่ สร้างสรรแต่สิ่งดีๆให้กันและกัน เพราะยิ่งนานวันเวลาก็หมดไป หากเราใช้เวลาโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าของการกระทำในเวลาใดๆแล้ว ก็ยิ่งจะทำให้เวลาที่ผ่านไปนั้น เสียไปโดยเปล่าประโยชน์เราจะหวนคืนอดีตให้กลับมาไม่ได้แล้ว สุดท้ายบางคนอาจจะคิดได้ เมื่อมันสายไปเสียแล้ว ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้ทำความดี จงมั่นใจเถอะว่า ท่านได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
จงมีความมั้นใจเถอะว่า ความรักและความดีจะไม่ทิ้งผู้ที่ทำตามวิธีที่ดีงามนั้นเลย ความรักเป็นเพื่อนแท้ในยามยาก หากท่านเชื่อในความรัก เฉกเช่นท่านมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
ความรักอยู่ในใจท่านจงเชื่อในความรักแล้วท่านจะรอด กิจใดก็ตามหากท่านพอใจในความรักกิจนั้นก็จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การกระทำใดก็ตามหากทุกคนมีความตั้งใจ และซื่อสัตย์ ในการนั้นย่อมสำเร็จตามความมุ่งมั่นเสมอ ดังนั้นการทำความดีย่อมส่งผลดีตอบแทนสำหรับผู้กระทำความดี การพูดดี คิดดี ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการทำความดี คิดดี พูดในสิ่งสร้างสรรค์ ไม่ก่อให้เกิดการแตกแยก ไม่โกธร ไม่เกลียด ไม่ถือสาเอาความกัน อภัยให้กัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน รู้เหตุรู้ผล ยึดมั่นในความสามัคคี ถือระเบียบกฎเกณฑ์ของหมู่คณะเป็นที่ตั้งแล้ว กิจการใดที่กระทำร่วมกันย่อมสำเร็จ และส่งผลให้ผู้กระทำ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขอีกด้วย แต่หากทากเป็นเสมือนดั่งกาดำปะปนอยู่ในฝูงแกะแล้ว ท่านจะอยู่รอดในสังคมนั้นได้อย่างไร ผลสุดท้ายท่านจะถูกขับออกจากหมู่คณะโดยที่ท่านไม่ได้ทันตั้งตัวเลย เพราะว่าไม่มีใครขับท่าน มีแต่ตัวของท่านเท่านั้นที่ทำตัวของท่านเอง
เกิดมาท่านเอาอะไรติดตัวมาบ้าง เมื่อมีโอกาสเกิดมาควรทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมส่วนร่วมเพราะเมื่อท่านไม่มีโอกาสอยู่ต่อไป ความดีเท่านั้นที่จะจารึกเกียรติประวติของท่านไว้นิรันดร์
5 กันยายน 2549

การตานก๋วยสลากวัดดอนแก้ว

ทานสลากภัตต์ หรือกิ๋นสลาก

ทานสลากภัตต์ หรือกิ๋นสลากของวัดดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่

ในสมัยพุทธกาลทานสลาก หรือก๋วยสลาก คือการทำบุญสลากภัตต์อันเป็นประเพณีทำบุญของชาวล้านนาที่อาจแตกต่างกันเล็กน้อยในรายละเอียด แต่ละท้องถิ่น แต่มีความหมายและความมุ่งหมายเดียวกัน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ปรากฏในธรรมบทขุทกนิกาย ว่า " พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญพระอรหันต์สาวกของพระองค์ คือพระโกณฑธานเถระ เป็นผู้โชคดีในการจับสลากได้ที่ 1 ซึ่งแม้แต่พุทธองค์ก็สู่ท่าน ไม่ได้ พระสาวกทั้งหลายมีความสงสัยว่าทำไมท่านจึงโชคดีเช่นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสบอกแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลว่า โกณฑธานปรารถนาว่าถ้าเลือก อะไรแข่งขันอะไรขอให้ได้ที่ 1 เสมอ ดังนั้นชาตินี้โกณฑธานจึงเป็นผู้โชคดี

การถวายแบบจับสลากเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหารนั้น วันหนึ่งนางกุมารีได้อุ้มลูก ชายวิ่งหนีนางยักขินีผู้มีเวรต่อกันหลายชาติ แล้วติดตามจะทำร้ายลูกของนาง นางเห็นจวนตัวจะวิ่งหนีไปที่อื่นไม่ได้จึงวิ่งเข้าไปในเชตวัน ไปพึ่ง พระพุทธเจ้า ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม พระองค์ทรงตรัสสอนไม่ให้จองเวรต่อกัน นางทั้งสองเห็นชอบชั่วดี นางยักขินีรับศีล 5 แล้ว กราบทูลพระพุทธองค์ว่านางไม่รู้จะไปทำอะไรเพราะรักษาศีลเสียแล้ว ฝ่ายนางกุมารีเห็นดังนั้นจึงอาสาพานางยักขินีไปอุปการะ นางยักขินีจึง ตอบแทนอุปากระคุณแก่นางกุมารี โดยพยากรณ์บอกเรื่องอุตุนิยมวิทยา และการทำนาแก่นางกุมารี และยังได้บอกแก่ประชาชนทั่วไปจนร่ำรวย เพื่อตอบแทนคุณนางยักขินีคนเหล่านั้นจึงพากันเอาเครื่องอุปโภค บริโภค อาหารการกิน เครื่องใช้มามอบให้นางเป็นอันมากจนเหลือใช้ นางจึง มาทำเป็นสลากภัตต์โดยให้พระสงฆ์ทำการจับสลากอุปโลกนกรรมคือของที่ถวายมีทั้งราคามาก ราคาน้อย พระสงฆ์องค์ใดได้ของมีค่าน้อยก็อย่า เสียใจ ให้ถือว่าเป็นโชคดีของตนไม่ดี

การถวายแบบจับสลากของนางยักขินีนี้นับเป็นครั้งแรกแห่งประเพณีทำบุญสลากภัตต์ หรือทานสลากในพระพุทธศาสนา

ความสำคัญ

ประเพณีการทำบุญตานก๋วยสลากของชาวเหนือนับเป็นประเพณีทำบุญกลางบ้านที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญยังเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มาจนทุกวันนี้ เป็นประเพณีที่ดีงดงามควรที่จะได้ช่วยรักษาและอนุรักษ์ไว้ เป็นประเพณีที่มีคติธรรมมาจากศาสนาพุทธที่มีแก่นสารที่สำคัญ คือ เป็นการสั่งสอนใจคนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ สอนให้สร้างความดีในชาตินี้เพื่อผลบุญในชาติหน้า สอนให้ลูกหลานมีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ปู่ย่าตายายผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการตานก๋วยสลากสลาก และสามารถอุทิศผลานิสงส์นี้ไปเป็นเนื้อนาบุญแก่ผู้ตานก๋วยสลากเองเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว พิธีกรรม ในวันก่อนพิธี 1 วันที่เรียกว่า วันดาสลาก เป็นวันพวกผู้หญิงจะจัดเตรียมสิ่งของปัจจัยเครื่องไทยทานเพื่อบรรจุในก๋วย (ตะกร้าไม้ไผ่) ที่พวกผู้ชายสานเตรียมเอาไว้ ด้านหน้าก๋วยสลากจะมี"เส้นสลาก" หรือข้อความจารึกชื่อผู้ถวาย พร้อมระบุด้วยว่า เพื่ออะไร สำหรับผู้ใด

ในวันทานสลาก พระภิกษุตามวัดต่างๆจะได้รับนิมนต์ให้มาร่วมรับการถวายทาน ชาวบ้านที่เป็นศรัทธาวัดที่ได้นิมนต์ก็จะนำก๋วย สลากด้วย กรรมการวัดมีหน้าที่จัดเตรียมสลากอีกชุดหนึ่งเท่ากับจำนวนก๋วยสลากที่ชาวบ้านจะถวาย เมื่อถึงเวลาก็นิมนต์พระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีทุก รูปจับสลาก เมื่อแต่ละรูปได้เบอร์ใดก็จะออกเดินค้นหาต้นสลากที่วางไว้ เมื่อพบแล้วชาวบ้านก็จะถวายทานต้นสลาก หรือบางทีพระสงฆ์ก็อาจ อ่านชื่อศรัทธาตามเส้นสลาก เพื่อเรียกให้ศรัทธานำเอาก๋วยสลากไปถวาย พระสงฆ์จะให้พรเป็นอันเสร็จพิธี

สาระสำคัญ

- ทางคติธรรม การตานก๋วยสลาก จะสอนใจพระสงฆ์ และสามเณรมิให้ยึดติดในลาภสักการะทั้งหลายรู้จักการตัดกิเลสและวางเรื่อง ตัณหาทั้งหลาย

- หลักการทำบุญตานก๋วยสลากนั้นเป็นวิธีการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งคือการบริจาคด้วยความบริสุทธิ์ใจรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ยึดมั่นถือมั่นในลาภ ยศ สุข สรรเสริญ

- การตานก๋วยสลากแสดงถึงพลังความสามัคคีของชาวบ้านที่ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญกุศลโดยพร้อมหน้ากัน สามารถนำเงินปัจจัย ต่างๆไปบำรุงพระศาสนา

สำหรับพีธตานก๋วยสลากของวัดดอนแก้วในปีนี้นั้นกระทำในวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2549 ในตอนเช้า มีการทำบูญตามเจตนาของศร้ทธาตามใจบำบูญอย่างไหนก็ได้บุญหมด สำหรับตอนบ่ายจะมีการตานต้นเงินร่วมด้วยช่วยกันของศรัทธาวัดดอนแก้ว ใครจะทำบูญเท่าไรก็แล้วแต่ใจของท่านด้วยเช่นกันไม่มีการบังคบ ตามเจตนากุศล บุญทำอย่างไรก็ได้เท่าไรก็ได้ย่อมได้บุญเพราะบุญอยู่ที่ใจ ทำแล้วสบายใจย่อมได้บุญเสมอนะโยม

พระมหาอุดม อุตตโม วัดดอนแก้วอ.สารภี จ.เชียงใหม่

ทางรอดของพระพุทธศาสนา โดยพระมหาอุดม อุตตโม

ทุกศาสนาในโลกสอนให้ทุกคนเป็นคนดีเหมือนกันหมด การที่ใครจะนับถือศาสนาใดนั้นก็สุดแล้วแต่ใจของท่านทั้งหลายเถอะ แต่ในประเทศไทยมีศานาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติตั้งแต่พระพุทธกาลนานมาแล้ว การที่พระพุทธศานาจะดำรงคงอยู่ได้นั้นก็ด้วยอาศัยการร่วมด้วยช่วยกันของตัวแทนพระพุทธศานาและผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย สาวกต้องเป็นตัวอย่างที่ดีก่อน สาวกในที่นี้หมายถึง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาศก อุบาสิกา "ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน" ดังนั้นสาวกทุกคนต้องประพฤติประฎิบัติในทางที่ดีในทางที่ถูกต้อง ไม่นอกรีดนอกรอย สอนคนอื่นได้แต่ตัวเองมาทำเสียเอง อย่างนี้ก็ไม่น่าสรรเสริญ ปัจจุบันมีข่าวมากมายเกี่ยวกับนอกรีดนอกรอยทางพุทธศาสนา หากตัวแทนทางพระพุทธศานากระทำอย่างนี้เป็นสิ่งไม่ดีแล้วจะมาสั่งสอนคนอื่นให้เป็นคนดีได้อย่างไร ดังนั้นศาสนาะดำรงคงอยู่ได้ก็ด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดีเท่านั้น
ประชาชนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยในการบำรุงพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญมากชาวบ้านเดือดร้อนข้าวยากหมากแพงเงินทองไม่คล่องตัว ซึ่งด้วยเหตุผลหลายประการ เวลาจะไปทำบุญที่วัด ก็ไม่มีปัจจัยในการทำบุญ ความจริงการทำบุญมากทำบุญน้อยก็เป็นบุญเหมือนกัน มันอยู่ที่ใจของศัทรา วักเหมือนสระพระเหมือนปลา ศรัทราเหมือนน้ำ ต่างคนต่างอาศัยซึ่งกันและกัน การอุปภัมค้ำจุนบำรุงพระพุทธศานา เป็นสิ่งที่ควรสรรเสริญยิ่งนัก เมื่อวัดมีการมีงาน เราก็ร่วมด้วยช่วยกัน มีความสามัคคีความเจริญจึงจะเกิด ถ้าขาดความสามัคคีวัดหรือศาสนาก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นเราควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พระเป็นตัวแทนของศาสนา ที่มีหน้าที่สั่งสอนประชาชนศัทราชาวบ้านให้มีความรู้ในเรื่องคุณธรรมจริยะธรรม ในบางครั้งพระธรรมคำสอนต่างๆที่ได้อ่านได้ฟัง ตามแหล่งความรู้ต่างๆ บางทีอาจมีการปลอมแปลงพระธรรมคำสอนให้ผิดแผดแตกต่างไปจากความจริงบ้าง แต่โดยหลายประการเราควรรับฟังในสิ่งที่ดีๆ สิ่งไม่ดีก็ไม่ต้องรับ ดังนั้นศาสนาจะอยู่ได้ต่อไปนั้นก็ด้วยประการดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น และก็ด้วยอาศัยปัญญา องค์ปัญหาอาการแห่งกุศล ท่านทั้งหลาย จงเลือกประพฤติปฎิบัติในสิ่งที่เหมาะที่ควรสำหรับสาธุชนทั้งหลาย แต่ด้วยที่ว่าคนเรามีหลายจำพวก บางคนได้ฟังแต่หัวข้อ ก็รู้แจ้งเห็นจริง ในพระธรรมคำสอน อย่างนี้เปรียบเสมือนบัวพ้นน้ำ บางคนต้องได้ฟังคำอธิบายขยายความกว่าจะรู้และเข้าใจ เกิดสติปัญญาเปรียบเสมือนบัวที่อยู่ในน้ำแต่พร้อมที่จะโผ่ลพื้นน้ำ สำหรับประเภทสุดท้าย คือบัวใต้น้ำ เป็นบัวที่อยู่กับโคนตม อยู่กับดินกับทราย สั่งสอนอะไรก็โง่เหมือนเดิม ดังนั้นระดับจิตระดับใจของคนเรานั้นไม่เหมือนกัน จึงมีธรรมะหลายประเภท การฟังธรรมะควรเลือกฟังในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง จะฟังที่ไหนก็ได้ ฟังที่วัดก็ได้ จาก cd วิทยุ โทรทัศน์ก็ได้ ที่ไหนๆได้ทั้งนั้น เลือกฟังตามแต่ใจของศรัทราเถอะ เลือกในสิ่งที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน พระพุทธศานาเกิดขึ้นหลายร้อยพันปี แต่พระธรรมคำสอนยังคงใหม่และทันสมัยอยู่เสมอ หากคนฟังนำพระธรรมคำสอนมาใช้ในทางที่ถูกที่ควร และในสภาวะปัจจุบันสิ่งต่างๆเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราทำให้เป็นโรคจิตโรคประสาทไปตามๆกัน การเงินเศรษฐกิจมีปัญหาต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้องต้องหาอาหาร เพื่อดำรงชีพ คนเราคิดอะไรก็เป็นเงินเป็นทองกันไปหมด บางครั้งอาจมีความคิดคับแคบไป ดังนั้นขอให้พิจราณาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในพระธรรมคำสอนบ้าง การจะฝึกปฎิบัติในพระธรรมคำสอนเป็นสิ่งที่ดี คนเราจะต้องมีธรรมะในตัวเอง การฝึกฝนจะต้องมีความอดทน วิริยะ อุตสาหะ ร้อนแดดฝนกระทบกายใจทนไว้ "อดได้เป็นยา มีปัญญาชนะคนอื่น" คนเราต้องมีคุณธรรมในตัวเองถึงจะสั่งสอนคนอื่นได้ ดังนั้น "ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน" ในฐานะที่เกิดมาในพระพุทธศาสนา ให้ช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนา นำพระธรรมคำสอนของสัมมาสัมพุทธเจ้าไปประพฤติปฎิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองและลูกหลานด้วยเทอญ
จำเริญพร
พระมหาอุดม อุตตโม วัดดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่
วันขึ้น 11 ค่ำเดือน 12 เหนือ ตรงกับวันที่ 3 กันยายน 2549

วันอังคาร, สิงหาคม 29, 2549

ปริศนาธรรม

เรามางานศพ เราได้อะไร....?
สีคนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป
สี่คนหาม...ธาตุทั้งสี่อันเป็นธรรมที่อยู่ในตัวเราขณะที่เรามีชีวิตอยู่
สามคนแห่...ไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หนึ่งคนนั่งแคร่...จิตวิญญาณหรือชีวิตเดียวของเรา
สองคนพาไป...บาป บุญ...............สิ่งที่ได้คือ................
1.ห้างลอยตราสังข์
ตราคือเครื่องหมายสังข์ ในที่นี้หมายถึง สังขาร
ตราสังข์หมายถึงเครื่องหมายปริศนาของสังขาร บ้านเราเรียกฝ้ายมัดสาด 3 ช่วง
คือช่วงตรงลำคอ ช่วงตรงอก ช่วงตรงข้อเท้า คนในภาคกลางถ้ามีการตายเกิดขึ้นนิยมนำฝ้าย 3 ช่วงรัดตาม 3 สถาน
ที่เรียกว่ามัดตราสังข์ มีความหมายเป็นปริศนาว่า
ฝ้ายบ่วงที่ 1 ผูกมัดไว้ตรงลำคอ หมายถึงบ่วงที่เราติดหลงในขณะมีชีวิตอยู่เรียกว่า ปุตโตคีเว คือการห่วงบุตรห่วงลูก
ฝ้ายบ่วงที่ 2 ผูกไว้ตรงช่วงอก หมายถึง บ่วงห่วงแห่งภรรยา-สามี เรียกว่าภริยา สามิหัตเถ
ฝ้ายบ่วงที่ 3 ผูกไว้ตรงช่วงข้อเท้า หมายถึงบวงห่วงทรัพย์สิน เงินทอง เรียกว่า ธนะปาโท
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ถึงตายแล้วก็ไม่มีใครสามารถนำไปได้แม้แต่คนเดียว บ้านเราปัจจุบันนี้ไม่นิยมมัด เพียงเอาฝ้ายสอดเสื่อไว้เพื่อหิ้วง่ายเท่านั้น แม้แต่การเอาสวดอกใส่มือแล้วก็ไม่นิยม เพราะถือว่าเป็นการสร้างความลำบากในสังขาร อุปมเหมือนเรานอนหลับเอามือทับอกหรือเอามือสานกันไว้บนหัว เวลาเราฝันทำอะไรไม่ได้เลย ไม่เป็นอิสระ จึงไม่นิยมมัดกัน
2.เฝือกในหีบศพ /โลงศพ
ถ้าคนเราตายไปแล้วทำพีธีตรงสังข์ห้างลอยเรียบร้อบแล้ว บางแห่งหรือเมื่อก่อนมักจะนิยมพระมาสวดก่อน หลังจากนั้นก็จะนำใส่หีบศพก่อนที่จะนำร่างศพลงใส่ในโลง สมัยก่อนเรามักจะเอาไม้ 5 กีบ มาจัดเป็นแพหรือเรียกว่าเฝือกแล้วเอาห่อศพลงในหีบ แต่ปัจจุบันนี้ จะมีไม้กีบมาตีเป็นแผง 5 กีบ มีไม่หม่อนรอง 3 อัน....เผือก...หมอน...มีความหมายดังนี้
ไม้ 5 กีบ...หมายถึงขัน 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดับ แล้วก็แน่นิ่ง
ส่วนไม้หมอน 3 ท่อน หมายถึงรัตน์ 3 คือ พุทธะ อยู่เบื้องบน ธรรมะ อยู่เบื้องกลางจิต สังฆสมณะ อยู่ล่าง ฉนั้นพระและสามเณรจะเป็นผู้สวดบอกวิญาณ ได้รับรู้ว่าตนตาย เวลาจูง พระและสามเณร จะจูงนำหน้าหัวแม่เท้า บางท่านเอาไม้หมอน เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
3.บันได 4 ขั้น...บันไดสี่ขั้นนี้จะมีในสมัยก่อน สมัยก่อนหลังจากที่ห่อศพ ใสในหีบศพ ปิดฝาเรียบร้อย มักจะทำบันได สี่ขั้น ไว้บนหลังหีบศพ ปัจจุบันไม่มีบันไดสี่ขั้นนั้น ท่านหมายถึง การบอกภพที่วิญาณจะต้องไป คือ นรกภูมิ มนุษย์ภูมิ เทวตภูมิ นิพพาน จึงเรียกว่า บันไดผี
4.

วันอาทิตย์, สิงหาคม 27, 2549

ประมวลภาพในหลวงและพระบรมราโชวาท
























"ความรู้สึกและความซื่อตรงต่อหน้าที่เป็นคุณวุฒิอันสำคัญของคนทั้งปวงไม่ว่าผู้มีบรรดาศักดิ์สูงต่ำเพียงใด"

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 24, 2549

สุขอยู่ที่ใจ

ทุกหนทุกแห่งที่เราก้าวไป มีธรรมะนำทางเสมอ เพื่อค้นพบกฎของความจริง และความจริงที่ว่านั่นคือ "ธรรมชาติ" นั่นคือ ชีวิตที่พิจราณาได้ด้วยตนเอง การอุทิศได้ เสียสละได้ บำเพ็ญได้ อัตตา ความว่าง ความจริง ความมี ความไม่มี หรืออะไรก็ตามที่อยู่เป็นคู่ๆ นั่นคือความว่าง ความไม่มีตัวตน ความอิสระ ความไม่มีอะไรเลย นั่นคือชีวิต นั่นคือธรรมชาติ มรรคผลสุดท้าย คือ ศูนย์ ไม่มีอะไรเลย ว่าง ปรมัตถ์ นิพพาน ทุกสิ่งทุกอย่าง เราสามารถกำหนดแล้วด้วยใจ หากใจเรากระทำแล้วมีความสุข จงกระทำไปเถอะ ไม่มีผิด ไม่มีถูก มันอยู่ที่ใจของเรานั่นเอง
D.P
ปรมัตถ์

การพัฒนาจิต


สังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็ว สะดวกทันทีทันใจผู้คนอย่างเหลือคณานับ บางคนตอนเช้าอยู่เมืองหนึ่ง แต่พอกลางคืน ก็สามารถไปรับประทานอาหารกลางวันอีกเมืองหนึ่งได้ พอตกในตอนเย็น ก็จะกลับมานอนที่บ้านได้ตามปกติ หรือบางคนมีลูกหลานที่ส่งไปเรียนต่างประเทศ ก็สามารถที่จะพูดคุยหรือเห็นหน้ากันได้ทางโทรศัพท์ หรือบางราย ที่พอมีอันจะกิน และมีความปรารถนาความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจุบันก็มีโครงการจัดทัวร์ทางอากาศ ซึ่งจัดบริการแล้ว และปรากฎว่า มีผู้ใช้บริการกันไปตามสถานะทางการเงินและตัณหา(ความอยาก)ของแต่ละคน
สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างแห่งความสะดวกสบายของโลกยุคเทคโนโลยี ถามว่าสิ่งเหล่านี้ได้ถูกมนุษย์พัฒนาคิดค้นขึ้นมาจริงหรือไม่ คำตอบก็คือ "ใช่ " ทุกสิ่งบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่ถูกมนุษย์รังสรรค์ปั้นแต่งขึ้นมาตามจิตนาการของแต่ละกลุ่มบุคคล เช่นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มนักดาราศาสตร์ กลุ่มนักคณิตศาสตร์ ฯลฯ วัตถุสิ่งของต่างๆ มนุษย์ที่จะสามารถที่จะพัฒนาขึ้นมาได้จนบางครั้งมันก็มีความสามารถ อาจจะเหมือนมนุษย์ด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่เราเกือบจะ มองข้าม และนับเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตมนุษย์ คือเราลืมพัฒนาจิต ของตนเอง ทั้งนี้เราจะรู้ข่าวสารทั้งหลายจากทุกมุมโลก ซึ่งก็เพราะเทคโนโลยี ว่าทุกประเทศในโลกล้วนแต่ประสบปัญหาด้วยกันทั้งนั้น เริ่มต้นตั้งแต่ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ไม่นับรวมปัญหาอื่น ที่เป็นพื้นฐานของแต่ละชนชาติแต่ก็มีการแก้ไขกฎ ระเบียบ กฎเกณฑ์ของสังคมโลก เป็นต้น
แต่ข้อสังเกตก็คือ ปัญหาต่างๆมิได้ลดด้อยถ้อยลงหรือหมดไปจากประเทศนั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นกล่าวโดยสรุปก็คือ ต้นตอแห่งปัญหานานับประการทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้มาจากมนุษย์นี่เอง นั่นเป็นเพราะเราลืมที่จะพัฒนา จิต นั่นเอง มีคำกล่าวที่ว่า "จะพัฒนาอะไรก็ติด ถ้าจิตไม่พัฒนา" คงเป็นปฐมบทแห่งรูปการณ์ทุกอย่างได้ดีว่า ที่โลกเราปั่นป่วนทุกวันนี้ เพราะมาจาก สิ่งที่อยู่ภายในมนุษย์เรานั่นเอง นั่นคือจิตที่ไม่ยอมพัฒนาไปตามวัตถุที่เจริญรุดหน้า มีใจอันประเสริฐฯลฯ สำเร็จแล้วด้วยใจ พระพุทธศาสนาถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นต้นที่ ใจ และบทสรุปก็อยู่ที่ใจ ใจหรือจิตของมนุษย์เรานั้นนับเป็นสิ่งที่เร้นลับลึกล้ำเหลือกำหนด พฤติกรรทที่มนุษย์แสดงออกมาจากจิตของมนุษย์ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า กิริยาอาการใดๆ ที่มนุษย์คนหนึ่งแสดงออกมานั้น จะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่ภายในของเขาได้เป็นอย่างดี
จึงมีข้อปฎิบัติพื้นฐานสำหรับมนุษย์ทั่วไปว่า ให้เราคิดดี พูดดี ทำดี แล้วสิ่งดีๆจะติดตามมาเอง ถึงแม้เราจะต้องการที่จะเห็นผลของการกระทำนั้นๆของเราหรือไม่ก็ตาม ตรงกันข้ามถ้าเราคิดไม่ดี พูดไม่ดี และทำไม่ดี สิ่งไม่ดีทั้งหลายก็จะติดตามเรามาแน่นอน ฉนั้นในวันนี้ เราได้เริ่มต้นในการทำสิ่งดีๆบ้างหรือยัง เพราะถ้าเรารู้จัก ที่จะพัฒนาตัวเราเองให้เป็นคนมีจิตใจดี สิ่งต่างๆทั้งหลายในโลกก็ไม่นอกเหนือความสามารถของจิตที่พัฒนาแล้วนั่นเอง
ธรรมะบรรยายท่านพระมหาอุดม อุตตโม
เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่

พุทธสุภาษิต

พุทธสุภาษิต

พุทธสุภาษิต

พระพุทธสุภาษิต

ประมวลภาพวันวิสา

ประมวลภาพวันวิสา

ประมวลภาพวันวิสา

ประมวลภาพวันวิสา

ประมวลภาพวันวิสา

ประมวลภาพวันวิสา

ประมวลภาพวันวสา

ประมวลภาพวันวิสา

ประมวลภาพวันวิสา

ประมวลภาพวันวิสา