วันอาทิตย์, สิงหาคม 20, 2549

รายการธรรมะทัศน์ล้านนา โดยพระมหาอุดม อุตตโม

ธรรมะเพื่อชีวิต (วันอาทิตย์ที่ 11 เดือน 11 ที่ 20 สิงหาคม 2549)
คนเราเกิดมาเป็นมนุษย์กับเขาทั้งทีจงสร้างความดีให้กับตัวตน.....อันว่าคนเราเกิดมาจากดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งธรรมชาติได้สร้างเรามา เมื่อถึงเวลาสุดท้าย ก็คืนธรรมชาติเขาไป เหมือนกันทุกคน
ดังนั้นเมื่อเราเกิดมาทั้งที ควรมีธรรมะประดับกายประดับใจ ไว้ทุกๆคน ชีวิตที่เกิดมาจะได้มีคุณภาพที่ดี และอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข
ธรรมะเพื่อชีวิตมีหลักใหญ่อยู่ 4 ประการคือ
ความมีสัจจะ.....คือความจริง.......ทมะ.....การฝึกฝน.......ขันติ.......ความอดทน....และจาคะ.....การเสียสละ
1.สัจจะ...มีแก่นแท้ 3 ประการคือ ความจริง....ความตรง....ความแท้
ความจริงอันหมายถึงความจริงต่างๆ เรื่องจริง คนทำจริงเรียกว่าคนจริง ทำอะไรก็ทำจริง ไม่ทำเล่นๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งตรงกันข้ามกับคนไม่จริง ทำอะไรก็ทำเล่นๆไม่จริงจัง ซึ่งก็ไม่เป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป ความจริงอีกประการหนึ่งคือความจริงใจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ คนเราที่จะมาเกี่ยวข้องกันต้องมีความจริงใจต่อกันเป็นสำคัญที่สุด หากไม่จริงใจกันก็คบกันไม่ได้ ต่อไปความตรงก็ควรตรงต่อหน้าที่ไปตอกบัตรให้ตรงเวลาอย่างนี้เป็นต้นอย่างสุดท้ายคือความแท้ ความแท้ก็หมายถึงว่าไม่ปลอม เปรียบเป็นทอง ก็ทองแท้ เพราะทองปลอมไม่ใช่ทองแท้ทองแท้เป็นของจริง องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างมีความจริงใจนั่นแหละเป็นรากฐาน ความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะให้ความสัมพันธ์หรือการกระทำใดๆมั่นคงยั่งยืน
2.ทมะ แปลว่า การฝึกฝนการปรับปรุงตัวเอง คนเราเกิดมาไม่ได้เป็นมาจากครรภ์บิดา มารดา ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด ต้องมีการฝึกฝนให้เป็น ทำให้ชำนาญ สัตว์เดรฉานเช่นช้างสามารถนำมาฝึกฝนได้ แต่นี่คนต้องฝึกได้ดีกว่าช้างแน่นอน ไม่งั้นก็อายสัตว์ การฝึกฝนตนเองโดยให้ปลงในชีวิตสามารถทำได้ ในชีวิตของคนเรามีทั้งดีและไม่ดี ความดีก็ทำไป สิ่งไหนที่ไม่ดีก็หยุดมันเสีย ทำในสิ่งที่ดีๆ สิ่งใดทำแล้วนำความเดือดร้อนมาให้ก็อย่าทำ เช่นเข้าป่า ยิงนก ตกปลา ทำร้ายสัตว์ เมื่อเข้าวัดเข้าวาฟังธรรมะพระธรรมคำสอนแทนที่จะนำไปปฎิบัติ กลับสร้างบาปอย่างนี้ไม่ดี ทมะนี้ต้องมีปัญญาเป็นแกนนำสำคัญ เพราะต้องรู้จักคิดพิจราณาและมีความรู้ความเข้าใจจึงจะปรับตัวและฝึกฝนปรับปรุงตนได้ ข่มจิตข่มใจ ไม่ให้อยากได้ อยากมี อยากมา มาครอบงำ ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง เครื่องใช้ ให้รู้จักข่มเสียบ้าง กิเลสจะได้ไม่ฟูฟอง อย่าให้กิเลสต่างๆมาบงการชีวิตของเราได้
3.ทิติ หรือขันติ คือความอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ กิเลสตัณหาต่างๆ อดได้เป็นยา มีตัณหาแพ้เพื่อน คนเราต้องมีขันติธรรม ให้อดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ฝนตกแดดออกก็ช่างมัน ถูกด่าถูกว่าถูกตี ก็อดทนไว้ ไม่ระเบิดอารมณ์ออกมาไม่แสดงอารมณ์โมโหโกธาออกมา ขึ้นชื่อได้ว่ามีความขันติ ความอดทน
4.จาคะหมายถึงความเสียสละ การเสียสละมีหลายด้าน ในด้านวัตถุเช่นปัจจัย เสื้อผ้า เงินทอง ของมีค่า ให้รู้จักนำไปบริจาคเสียบ้าง นี่คือการเสียสละในด้านสิ่งของ ต่อไปในด้านอารมณ์ เมื่อมีอารมณ์ ความอาฆาตพยาบาทใครๆ เช่นรายการ สือ่ต่างๆ จากทีวี วิทยุ ที่มีความอาฆาตพยาบาทต่อกันไม่รู้จักจบจักสิ้น หรือสือไม่มีธรรมะ สือเป็นเท็จ อะไรก็แล้วแต่ สิงนั้นก็หามีคุณธรรมไม่ คนเราเมื่ออารมณ์ข้างในไม่ดี เขาเรียกว่าคนเน่า คนไม่ดี มีอารมณ์บูด อยู่ที่ไหนก็ไม่เป็นที่ต้องการของสังคม เหมือนกับคนบ้า บ้ายศ บ้าอย่าง บ้าวาสนา มีเกียรติเป็นใหญ่เป็นโต ชี้นกต้องได้นก ชี้ไม้ต้องได้ไม้ ไม่ได้ดังใจก็โมโหโกธา ไม่มีธรรมะใจจิตใจ ไม่มีความเสียสละทางด้านอารมณ์ ปลดปล่อยเสียบ้าง อย่างปล่อยให้อารมณ์บูด อารณ์เน่า ไม่เป็นที่ต้องการของสังคม ผลสุดท้าย ไปไหนก็หลบๆซ่อนๆ เอาผ้าคุมหน้า ไม่ให้ใครเห็น ดังนั้นคนเราต้องรู้จักเสียสละอารมณ์บ้างอย่าให้มันบูดมันเน่ามากนัก
ดังนั้นการที่จะดำรงชีวิตอยูได้ในสังคมจำเป็นต้องมีคุณธรรม คนไหนไม่มีคุณธรรม เอาสิ่งของมากองอยู่ตรงหน้าเป็นฐานบารมีอยู่ที่ไหนไม่นำคำสอนของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นตัวปฏิบัติ เขาเรียกว่า คนเทียม มีใบสวน ใบนา ไปไหนแต่งตัวอวดชาวบ้าน คนอย่างนี้ก็ย่อมไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม สำหรับคนจริง คนแท้ มีคนนับหน้าถือตา อยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข
นี่ก็เป็นอีกแง่มุมหนึ่งของชีวิต 4 ประการอันที่ได้กล่างมานั้นคือ สัจจะ ความจริง ทมะ การฝึกฝน ขันติ ความอดทน และจาคะ ความเสียสละ

เจริญพร
ธรรมบรรยายโดยท่านพระมหาอุดม อุตตโม เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว อ.สารภี

ไม่มีความคิดเห็น: